Skip to main content

Featured

[Wrap Up + Replay] 2400 Inner System Blue : Missing Cyber Doc

หน้าปกเกม 2400 : Inner System Blues Introduction เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้วหลังจากที่เราห่างหายการรัน TRPG ไปนานราวๆ 3 เดือน เราคิดว่าจะลองรันแบบ Play by Post หรือการ TRPG ผ่านทางการพิมพ์หรือการตั้งกระทู้ดู น่าจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์หลังจากที่สถานการณ์โควิดดีขึ้นจนมีเวลาว่างไม่มากเท่าแต่ก่อน หลังจากทำการค้นข้อมูลสักพักจากเว็บบอร์ดต่างประเทศ รวมทั้งคลิป Youtube ที่แชร์ประสบการณ์การ Play by Post ทั้งที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลว เราก็ได้เลือกระบบเกมและร่างพล็อตของเกมขึ้นมา หลังจากนั้นจึงรับสมัครผู้เล่นใน Discord ของกลุ่ม Onion Knight Table  และเล่นกันในกลุ่ม เริ่มเล่นตั้งแต่เดือนมิถุนายน ลากยาวมาจนจบในช่วงเดือนธันวาคม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน

The Hobbit : J.R.R. Tolkien

ภาพ Conversation with Smaug จากเว็บไซต์ Tolkien Library


Introduction

ที่จริงทั้งภาพยนตร์ The Lord of the rings ไตรภาคและ The Hobbit นั้นก็ออกสู่สายตาชาวโลกมาหลายปีแล้ว แต่เราเพิ่งตัดสินใจที่จะหยิบหนังสือ The Hobbit มาอ่าน อาจเป็นเพราะมันเป็นหนังสือขึ้นหิ้งเป็นตำนานไปแล้วเลยคิดว่ามันคงต้องสนุกแน่ๆ เลยผัดวันประกันพรุ่งมาเรื่อยๆ ไม่อ่านมันสักที รวมกับการที่มีแฟนหนังคอยทำคลิปรวมตำนานต่างๆอยู่เต็ม Youtube เราเลยเหมือนได้รับข้อมูลมาทีละเล็กละน้อยจนมันทำให้ความอยากรู้อยากเห็นนั้นลดน้อยถอยลงไปมาก

แต่ในช่วงหลังที่ได้เข้าไปคลุกคลีกับ Tabletop RPG มากขึ้นโดยเฉพาะเกม Dungeons&Dragons ฉบับเก่าๆที่ได้รับอิทธิพลมาจากงานเขียนของ J.R.R. Tolkien เป็นอย่างมาก เราก็ได้เห็นการนำส่วนประกอบจากตำนานและเรื่องเล่าเหล่านั้นมาต่อยอดสร้างเป็นเรื่องราวของตัวเองออกมามากมาย ซึ่งเรื่องราวเหล่านั้นทำให้ความอยากรู้อยากเห็นของเรากลับคืนมาอีกครั้งจนซื้อหนังสือ The Hobbit มาอ่านจนได้


ความคิดเห็น

เกริ่นสักเล็กน้อยว่าเราอ่าน The Hobbit ฉบับภาษาอังกฤษหลังจากที่อ่านงานของ H.P.Lovecraft จบไปบางส่วน ทีแรกก็หวั่นใจว่าจะอ่านรู้เรื่องแค่ไหนเพราะงานของ Lovecraft นั้นแทบจะจับใจความของเรื่องราวได้เพียงแค่นิดหน่อยเท่านั้น แต่ปรากฏว่าภาษาที่ใช้ในการเขียน The Hobbit นั้นอ่านง่ายกว่ากันมาก เรียบง่าย สละสลวย สามารถอ่านได้จนจบเล่มโดยไม่ต้องเปิดพจนานุกรมบ่อยนัก นับเป็นความประทับใจแรกที่เชื้อเชิญให้เปิดอ่านต่อเป็นอย่างยิ่ง

ในด้านเนื้อเรื่อง The Hobbit เป็นแฟนตาซียุคต้นตำรับที่มีเวทมนตร์และเผ่าพันธุ์ต่างๆมากมาย แต่ทุกสิ่งอย่างล้วนอันตรายและไม่สามารถฝ่าฟันไปได้ด้วยกำลังและคมดาบ ตลอดการผจญภัยเราพบว่ามันประกอบด้วยด้วยการวางแผน, การใช้ไหวพริบ และดวงร่วมกันเพื่อให้สามารถรอดไปจากสถานการณ์คับขันได้ ซึ่งมันอาจไม่ "มันส์" ในกรอบของแฟนตาซียุคใหม่แต่ก็มีมนตร์เสน่ห์และความลุ้นระทึกในรูปแบบที่ต่างออก

ในด้านการดำเนินเรื่องนั้นให้ความรู้สึกคล้ายนิทาน เน้นการบรรยายในภาพรวมมากกว่าพรรณนาในจุดเล็กๆซึ่งทำให้การดำเนินเรื่องค่อนข้างฉับไวไม่น่าเบื่อ (แต่มีคนบอกว่าพอเป็นชุด The Lord of the rings พรรณนาจัดเต็มมาก ซึ่งน่าจะได้ลองอ่านในโอกาสถัดไป) ซึ่งโดยส่วนตัวชอบวิธีเล่าเรื่องแบบนี้มากกว่า ประมาณว่าหากภาพร่างชัดเจนและสื่อความหมายได้ดีพอ ไยต้องเสียเวลาเพ่งพินิจรายละเอียดที่ไม่ใช่สาระสำคัญ? 


ลำดับการอ่าน

ในชุดหนังสือจักรวาลมัชฌิมโลกนั้นมีลำดับการอ่านที่หลากหลายมาก บางคนบอกให้อ่านเรียงลำดับยุคในเรื่อง บางคนบอกให้อ่านตามลำดับการจัดพิมพ์ ซึ่งสุดท้ายแล้วเราเลือกที่จะอ่านตามลำดับการจัดพิมพ์ด้วยเหตุผลเรื่องการเรียงลำดับที่ง่ายกว่า (และเรารู้สึกคุ้นเคยมากกว่า) และข้อที่สองคือความคิดที่ว่าลำดับการออกหนังสือของนักประพันธ์นั้นมีผลต่อวิธีการเล่าเรื่อง รสชาติของการรับรู้เศษเสี้ยวตำนานหนึ่งจากการพูดคุยของตัวละครในเส้นเรื่องหลักอย่าง The Lord of the rings แล้วจึงไปค้นหาส่วนขยายแห่งตำนานนั้นย่อมแตกต่างจากการรู้ตำนานและพบมันปรากฏอีกครั้งในเส้นเรื่องหลัก

แต่อย่างไรก็ตาม กว่าเราจะได้ลิ้มรสวรรณกรมจากลำดับการอ่านดังกล่าวก็อาจต้องใช้เวลาอีกพักใหญ่เลยทีเดียว ซึ่งจะนำมาเล่าสู่กันฟังในโอกาสถัดไป

Comments