Skip to main content

Featured

[Wrap Up + Replay] 2400 Inner System Blue : Missing Cyber Doc

หน้าปกเกม 2400 : Inner System Blues Introduction เมื่อช่วงเดือนมิถุนายนปีที่แล้วหลังจากที่เราห่างหายการรัน TRPG ไปนานราวๆ 3 เดือน เราคิดว่าจะลองรันแบบ Play by Post หรือการ TRPG ผ่านทางการพิมพ์หรือการตั้งกระทู้ดู น่าจะเหมาะกับไลฟ์สไตล์หลังจากที่สถานการณ์โควิดดีขึ้นจนมีเวลาว่างไม่มากเท่าแต่ก่อน หลังจากทำการค้นข้อมูลสักพักจากเว็บบอร์ดต่างประเทศ รวมทั้งคลิป Youtube ที่แชร์ประสบการณ์การ Play by Post ทั้งที่ประสบความสำเร็จและที่ล้มเหลว เราก็ได้เลือกระบบเกมและร่างพล็อตของเกมขึ้นมา หลังจากนั้นจึงรับสมัครผู้เล่นใน Discord ของกลุ่ม Onion Knight Table  และเล่นกันในกลุ่ม เริ่มเล่นตั้งแต่เดือนมิถุนายน ลากยาวมาจนจบในช่วงเดือนธันวาคม รวมระยะเวลาทั้งสิ้น 6 เดือน

Bullet Journal Method : Ryder Carroll

"โดยแก่นแล้วมันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรเป็นการ Practice เพื่อหา Insight จากประสบการณ์ตรงของตัวเองมากกว่าที่จะอ่านรวดเดียวเพื่อตามหา Insight สำเร็จรูปและไฮไลต์โควทคมๆโดยที่ไม่ได้เรียนรู้อะไร"

Bullet Journal Method. Pic from Amazon.com

Introduction

หลังจากที่เคยเขียนบทความเกี่ยวกับการทำ Bullet Journal ของตัวเองไปแล้ว (อ่านได้ที่ลิงก์นี้) ก็เกิดสงสัยเกี่ยวกับ function จริงๆของการทำ BuJo ขึ้นมา ว่านอกจากการปรับแต่งตามความต้องการแล้วมันมีวิธีใช้อื่นที่ Productive มากกว่านี้หรือเปล่า และความสงสัยนี้ก็ทำให้เรามีโอกาสพูดคุยกับเพื่อนของเราคนหนึ่งซึ่งกลับมาเขียน Bullet Journal หลังจากหยุดไปช่วงหนึ่ง เขาแนะนำให้เราลองอ่านหนังสือ Bullet Journal Method ดูสักครั้งเผื่อจะได้คำตอบ โดยเฉพาะบทที่สามที่เป็นแนวคิดหลักของหนังสือ เป็น Why ของการทำ Bujo

อาจฟังดูแปลก แต่เราทำ Bullet Journal มาสามปีโดยอาศัยแค่ Guideline จาก official website ของ BuJo เท่านั้นแต่ไม่เคยได้อ่านหนังสือเล่มนี้เลย ซึ่งหลังจากที่เราอ่านจนจบเราก็คิดว่าดีแล้วที่อ่านแค่ Guideline แล้วเขียนจนคล่องก่อนมาลองอ่าน เพราะถ้าเกิดมาเริ่มอ่านก่อนที่จะมีประสบการณ์อาจเขวี้ยงหนังสือทิ้งแล้วล้มเลิกความคิดที่จะทำ BuJo ไปเลยก็ได้

Review

เหตุผลหลักๆที่จะทำให้เราเขวี้ยงหนังสือทิ้งคือความไม่ถูกจริตกับหนังสือ Self-help อย่างรุนแรง และเพียงแค่อ่านคำโปรยของ Bullet Journal Method เราก็แทบจะตีตราจัดประเภทให้มันอยู่ในหมวด "หนังสือ Self-help เหม็นกลิ่นฮิปสเตอร์" แทบจะในทันที แต่เพราะมีประสบการณ์ในการทำ BuJo มาก่อนจึงพออดทนอ่านแนวคิดที่เป็น Behind the scene ของการทำ BuJo ได้จนจบ แม้จะเข้าใจและรู้สึกคล้อยตามแต่ก็ปฏิเสธไม่ได้ว่าความไม่ถูกจริตนั้นก็ยังคงอยู่ โดยเฉพาะการ Romanticize แนวคิดบางอย่างในหนังสือที่มันให้ความรู้สึก “เกินเบอร์” ก็ทำให้เราต้องหยุดอ่านเป็นระยะเพราะทนรับความเลี่ยนไม่ไหว อย่างตอนที่เห็นคำว่า Ikigai ปรากฏในหนังสือนั้นเราก็หยุดอ่านในทันทีและปิดหนังสือไปเกือบเดือนกว่าจะทำใจกลับมาอ่านต่อได้ (และแน่นอนว่าต้องมาเริ่มอ่านใหม่เพราะลืมไปแล้วว่าอ่านถึงตรงไหน)

แต่อย่างไรก็ตาม หากตัดกลิ่นเหม็นฮิปสเตอร์และความเลี่ยนของการ Romanticize แนวคิดและชีวิตออกไป หนังสือเล่มนี้ถือว่าเขียนและเรียบเรียงออกมาได้ดีทีเดียว ผู้เขียนนำแนวคิดการพัฒนาตนเองและการบริหารจัดการที่หลากหลายมาใช้ได้อย่างพอเหมาะพอควรและเล่าผ่านประสบการณ์ของตัวผู้เขียนที่นำแนวคิดเหล่านี้ไปใช้แก้ปัญหาก่อนจะสรุปเป็น Insight ของตัวเองออกมา อ่านจบแล้วก็ได้อะไรกลับมาคิดต่อและปรับใช้พอสมควร เหมือนเอาวัตถุดิบหลายๆอย่างที่เราไม่ชอบอย่างละเล็กละน้อยมาปรุงรวมกันแล้วออกมาได้รสอร่อยพอกินได้

ส่วน Insight ที่เราได้กลับมาหลังอดทนอ่านจนจบนับว่าดีในระดับที่ตัวเองก็ไม่คิดว่ามันจะดีได้ขนาดนี้และคิดว่ามันคือสิ่งที่เจ๋งที่สุดของหนังสือเล่มนี้แล้ว ซึ่ง Insight ที่ว่าคือแนวคิดของการหยุดเพื่อถามตัวเองเป็นระยะว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญต่อชีวิตในช่วงนี้ เพื่อที่จะได้จัดสรรเวลาและพลังงานในการจัดการเรื่องเหล่านั้นได้อย่างมีประสิทธิภาพ ซึ่งผู้เขียนได้สรุปแนวคิดนี้ไว้ในคำว่า Intentionally หรือ "การใช้ชีวิตอย่างมีจุดมุ่งหมาย" เป็นการรวมกันของการใช้ชีวิตที่ "มีประสิทธิผล (Productivity)" และ "มีสติ เข้าใจตนเอง (Mindfulness)" ซึ่งสำหรับเราแล้วมันคือ Insight ที่พูดแทนหนังสือทั้งเล่มและผสานกับประสบการณ์ส่วนตัวที่ได้ทำ BuJo มาได้อย่างลงตัวและตอบคำถามเรื่อง function ของ BuJo ที่เป็นจุดเริ่มต้นให้เราเริ่มอ่านหนังสือเล่มนี้ได้อย่างสมบูรณ์


"Intentionally" a picture from "Bullet Journal Method"

Summary

มันคือหนังสือ self-help เหม็นกลิ่นฮิปสเตอร์อย่างที่บอกนั่นแหล่ะ เป็นอื่นไปไม่ได้หรอก แต่มันเป็นหนังสือเหม็นๆที่น่าอ่านเพราะ Insight ที่ได้ค่อนข้างคุ้มกับเวลาและความอดทนที่ใช้ไปกับมัน และที่สำคัญคือมันเป็นหนังสือที่ซื่อตรงต่อแนวคิดของตัวมันเองโดยไม่ออกนอกลู่นอกทาง มันเน้นย้ำประเด็นหลักอย่างการหยุดถามว่าอะไรคือสิ่งที่สำคัญตลอดทั้งเล่ม รวมทั้งยก Case Study ที่มีประโยชน์และเกี่ยวข้องกับประเด็นนั้นๆโดยไม่เติมแต่งให้มันเกินจริง มันจึงทำให้เราต่อติดกับหนังสือและเปิดใจรับฟังมันได้จนจบ

ซึ่งสุดท้ายถ้าจะให้แนะนำ เราแนะนำให้อ่านแค่บทแรกๆที่สอนทำแล้วไปลองทำสักสองสามเดือนพอให้เราได้เห็นประโยชน์และเห็นปัญหาก่อนแล้วค่อยกลับไปอ่านบทอื่นต่อ เพราะมันจะทำให้เราสามารถเชื่อมโยงแนวคิดต่างๆในหนังสือกับประสบการณ์และนำไปประยุกต์ใช้ได้ เพราะโดยแก่นแล้วมันควรจะเป็นเช่นนั้น ควรเป็นการ Practice เพื่อหา Insight จากประสบการณ์ตรงของตัวเองมากกว่าที่จะอ่านรวดเดียวเพื่อตามหา Insight สำเร็จรูปและไฮไลต์โควทคมๆโดยที่ไม่ได้เรียนรู้อะไร


Comments