Skip to main content

Featured

[Replay] [Play by Posts] 2400 Cosmic Highway : The Delivery EP 3

  โครงกระดูก Leviathan ที่ยังหลงเหลืออยู่ใน Leviathan Crossing Link to Replay Part 1 Link to Replay Part 2 Replay Part 3 ในขณะที่ Dutch กับ Guillermo กำลังคุยกันเรื่องมัมมี่ Franchetti ที่ทิ้งวิชาชีวะวิทยาไปตั้งแต่ 9 ขวบได้เตรียมการต่อ Monolith เข้ากับ AI จำลองของบีแบพแล้ว “ที่เหลือก็แค่ Launch แล้วอยากมาดูด้วยกันรึเปล่า?” Franchetti เรียกเพื่อนๆมาดูโชว์ DEUS EX MACHINA "นี่คงไม่ได้ต่อเข้ากับ AI ที่เป็น Copilot ของยานใช่ไหม? หวังว่าจะใช้ Server ส่วนตัวมาทดสอบนะ จะได้ปิดสวิตช์มันได้ถ้ามีอะไรผิดพลาด" "Fran มันไม่น่าโง่ขนาดนั้นมั้ง Doc" "ได้ยินนะเฟ้ย AI ยานก็ AI ยานไม่ยุ่งอยู่แล้ว นี่ของจำลองเหมือนเอาวัวที่เราดูดจาก E-69 ไปปล่อยที่ดาวเคราะห์ Rule-31 ไง เข้าใจคร่าวๆไหม?" Franchetti อธิบายพลางทำไม้ทำมือประกอบ "ถ้าคุณพร้อมก็เริ่มการทำงานของมันได้เลย ผมเองก็อยากจะเห็นเหมือนกัน" Guillermo ชูมือให้สัญญาณ Franchetti เริ่มทำการ Launch เชื่อม Monolith ที่ได้มาใบหน้าเต็มไปด้วยความตื่นเต้นและสงสัยว่าเจ้าสิ่งนี้จะแสดงอะไรออกมาให้เห็น ส่วน Dutch ยืนเคี้ยว Protei...

Empire's Song : ข้อพิพาทจากจักรวรรดิแคนแคนและการติดตามไอดอลในทัศนะของข้าพเจ้า

Trooper คือชื่อเรียกตัวเองของเหล่าแฟนคลับของ Can BNK48

เรายังจำตอนที่เริ่มติดตามน้องๆได้

เราติดตาม BNK 48 มาได้ปีกว่าๆแล้วตั้งแต่ช่วงเปิดตัวแรกๆ ในตอนนั้นก็ไม่ได้รู้จักไอดอลตระกูล 48 มากมายนัก ติดตามเพราะความน่ารักของน้องๆเป็นหลัก โดยคนแรกที่เราตามคืออรอุ๋ง ตามมาด้วยเจนนิส เหตุผลหลักๆคือความน่ารักและการแสดงออกของน้องๆทั้งสองคนที่ดูไม่ไปในแนวญี่ปุ่นนิยม ทำให้เราที่ค่อนข้างมีความรู้สึกในแง่ลบกับ Culture ของทางฝั่งญี่ปุ่นรู้สึกสนิทใจที่จะติดตาม (คือโดยส่วนตัวแล้วเรารู้สึกว่า Culture ทางฝั่งนั้นมันค่อนข้าง...เยอะ คือมัน Emotional เกินไป) ซึ่งทุกวันนี้ "การมีส่วนเกี่ยวข้องกับวัฒนธรรมฝั่งญี่ปุ่นน้อยที่สุด"ก็ยังเป็นหลักเกณฑน์ที่เราใช้ในการเลือกว่าเราจะโอชิใคร

(ตลกและย้อนแย้งโคตรๆ นี่เรากำลังพยายามคัดกรองวัฒนธรรมญี่ปุ่นออกไปจาก Franchise ที่มาจากญี่ปุ่นเนี่ยนะ?)

ต่อมาเมื่อติดตามอยู่ห่างไปได้สักพักและโยกย้ายจาก Facebook เข้าสู่ Instagram เราก็บังเอิญเลื่อนเจอรูปสาวน้อยในชุดเวียดนามผ่านหน้า Feed โดย Account นั้นชื่อว่า Can.bnk48official ด้วยความที่ชอบชุดสาวเวียดนามเป็นทุนเดิมจึงกดเข้าไปดู สรุปคือได้ Following เพิ่มมาอีก 1 คน และเมื่อลองอ่านพวกบทสัมภาษณ์ต่างๆของแคนจึงได้รู้ว่าน้องคนนี้มาสายเพลงอินดี้และชอบ Star Wars เรียกได้ว่าตรงสายเราเลยก็ว่าได้ (ลองคิดดูสิว่าจะมีไอดอลในวงญี่ปุ่นสักกี่คนที่รู้จักวง Yellow Fang และร้องเพลง "เก็บผ้า" ได้) คือมันมีความรู้สึกว่าสไตล์ของน้องน่าจะถูกจริตเราแน่ๆ แถมน้องก็ยังชอบ Star Wars อีกต่างหาก เหล่าโอตะที่โอชิแคนจึงเรียกกลุ่มของพวกเขาว่า “จักรวรรดิแคนแคน : CanCan Empire” และเรียกตัวของพวกเขาเองว่าเป็น “Trooper” ของจักรวรรดิ ซึ่งเราว่ามันน่ารักดี ชอบ

อรอุ๋ง - Orn BNK 48 : รูปภาพจาก Facebook @bnk48official.orn

กรณีพิพาทจักรวรรดิแคนแคนและไฟบนหัวที่ไม่ยอมดับ

ที่จริงก็คงจะเป็นการติดตามแบบอยู่ห่างๆอย่างห่วงๆ และคงลอยตัวอยู่เหนือดราม่าต่างๆของ BNK48 ที่ส่วนใหญ่ก็วนเวียนอยู่กับเรื่องกฏของวงที่เข้มงวดในระดับที่ว่ากันว่าละเมิดสิทธิมนุษยชนเลยทีเดียว คือพวกเอ็งจะดราม่าและถกเถียงประเด็นนี้ก็เชิญเถียงกันไป ปล่อยเราเสพความน่ารักสดใสของน้องๆเงียบๆอยู่ที่มุมนี้ก็พอ แต่เมื่อต้นเดือนพฤษภาที่ผ่านมาไอ้ดราม่าตัวนี้มันดันไปเกิดกับน้องแคน น้องที่เราคิดว่าสไตล์ของน้องถูกจริตของเราที่สุด

กรณีพิพาทของแคนเมื่อช่วงต้นเดือนที่ผ่านมา เล่าโดยสรุปคือน้องมี IG ส่วนตัวและการมี IG ส่วนตัวมันผิดกฏของวง ทำให้น้องต้องออกมาขอโทษผ่าน Official Account ของตัวเองและถูกต้นสังกัดลงโทษด้วยการพักงานหนึ่งเดือน คือเรื่องโดนทำโทษเนี่ยมันไม่ทำให้รู้สึกอะไรเท่าไหร่หรอก คือมีกฏแล้วผิดกฏก็ว่าไปตามนั้น ซึ่งเราก็ไม่ได้สนใจกฏของวงมากมายอะไร แต่ที่ทำให้หัวร้อนและเป็นเดือดเป็นร้อนค่อนข้างมากก็คือกระแสต่างๆและการตีข่าวของสื่อใหญ่หลายสำนัก อารมณ์คล้ายกับว่านี่จะชงจะขยี้ข่าวจนกว่าน้องจะจมดินไปเลยหรือยังไง

ประเด็นต่อจากนั้นคือความหัวร้อนมันคงอยู่ต่อเนื่องไปสองสามวัน แล้วเราก็รู้สึกว่าเรามอง BNK48 ไม่เหมือนเดิม มันก็เลยสงสัยว่าตกลงเราเป็นอะไร เราคาใจอะไรทำไมถึงไม่หายหัวร้อนเสียที และเพื่อหาเชื้อไฟที่สุมหัวเราจึงต้องย้อนกลับไปศึกษาและทำความเข้าใจกับการตลาดของไอดอลตระกูล 48 (นี่คือพยายามหาต้นตออย่างเป็นเหตุเป็นผลมากที่สุดแล้วนะ) โดยอาศัยบทความตามอินเตอร์เน็ตเป็นหลัก แน่นอนว่าสำหรับวงที่มีประวัติความเป็นมายาวนานอย่างตระกูล 48 งานเขียนพวกนี้หาอ่านได้ไม่ยาก

เจนนิส - Jennis BNK48 : รูปภาพจาก Facebook @bnk48official.jennis

ลองทำความเข้าใจกับ Culture ตัวนี้กันเสียหน่อย

เริ่มจากการอ่านเรื่องของการก่อตั้งวงเพื่อทำความเข้าใจแนวคิดพื้นฐานเสียก่อน จากการอ่านพบว่าไอดอลตระกูล 48 ถูกสร้างขึ้นภายใต้แนวคิด "Idol you can meet" คืออยากเจอก็ได้เจอ เพียงไปที่เธียเตอร์และซื้อบัตร อะไรประมาณนั้น ซึ่งถ้ามองโดยภาพรวมแล้วการทำแบบนี้มันคือการจัดระยะห่างระหว่าง ศิลปิน - ผลงาน - ผู้ชมเสียใหม่

แรกเริ่มเดิมทีนั้นตัวของศิลปินและผู้ชมนั้นจะเชื่อมถึงกันจากผลงานเป็นหลัก ดังนั้นจึงค่อนข้างที่จะมีช่องว่างระหว่างผู้ชมและศิลปินที่ชัดเจน แต่ด้วยแนวคิด Idol you can meet ช่องว่างนั้นได้ลดลง และผู้ชมสามารถ Bypass ไปหาศิลปินได้เลย ดังนั้นตัว Product ของวงจึงไม่ใช่แค่เพียงผลงานเพลงและการแสดงแต่ตัวศิลปินเองก็กลายเป็น Product หลักไปด้วย ซึ่งการที่จะ Bypass นั้นจำเป็นที่จะต้องสร้างศิลปินที่มีลักษณะที่ "ควรค่าแก่การรักและเทิดทูน" ซึ่งความรักความเทิดทูนนี้เองที่กลายเป็นแรงขับอุปสงค์ของเหล่าโอตะทั้งหลาย ซึ่งกลไกการสร้างอุปสงค์นี้เกิดจากการทำงานร่วมกันของคำสามคำ Idolize, Romanticize และ Fantasy

Idol แปลตรงตัวคือ "รูปเคารพ" เป็นสิ่งที่มีไว้ให้คนเทิดทูนบูชา Idolize คือการสร้างภาพลักษณ์ที่เหมาะสม คู่ควรแก่การรักและเทิดทูนเป็น "Idol" ของเหล่าโอตะให้แก่น้องๆในวง ซึ่งทำให้เกิดการ Romanticize หรือการรับรู้บางสิ่งบางอย่างในลักษณะที่ดีเลิศเกินความเป็นจริงโดยตัวของโอตะ สองอย่างนี้จะก่อเกิดเป็น Fantasy หรือความคิดฝันอะไรสักอย่างขึ้นมา

ซึ่งพอมาถึงจุดที่ Fantasy เกิดขึ้นมาแล้วมันก็จะเหมือนกับการที่เราดูหนังรื่องหนึ่ง เราเสพความ Fantasy ของมัน และในจุดนี้เราก็จะรักน้องๆในวงเช่นเดียวกับที่เรารัก Darth Vader รัก Han Solo รัก Luke Skywalker คือเรารักความ Fantasy และ Fictional ของมัน ต่างกันตรงที่เรารู้ว่าตัวละครในหนังเป็นสิ่งสมมติและจับต้องไม่ได้ แต่น้องๆเป็นคนจริงๆ สามารถพบปะพูดคุยและสัมผัสได้ ดังนั้น Fantasy ย่อมเข้มข้นกว่าที่เรามีให้ตัวละครจากหนังแน่นอน

แคน - Can BNK48 และชุดเวียดนามของเธอ : ภาพจาก Facebook @bnk48official.can

แต่ปัญหาหลักๆก็คือถ้าเกิดรักษา Fantasy เอาไว้ไม่ได้ก็เท่ากับว่าสูญเสียความรักและความเทิดทูนและเสียอุปสงค์ไปในท้ายที่สุด ซึ่งสิ่งนี้เป็นความเสี่ยงที่การตลาดแบบอาศัยความรักความเทิดทูนต้องเผชิญ ดังนั้นจึงมีกลไกที่ถูกคิดขึ้นมาเพื่อจัดการความเสียงตรงนี้

อย่างแรกคือกฏที่ทำหน้าที่เป็น Damage Control และสิ่งที่สร้างความเชื่อมั่นให้กับลูกค้าว่า Fantasy ของท่านเราจะดูแลให้คงอยู่เอง

อย่างที่สองคือการกระจายความเสี่ยงโดยการมีเมมเบอร์หลายคน แต่ละคนมีฐานแฟนคลับของตัวเอง การสูญเสียฐานแฟนคลับของเมมเบอร์หนึ่งคนจะไม่ทำให้ทั้งวงล่ม เหมือนกับการลงทุนแบบแบ่งไข่ใส่ตะกร้าหลายๆใบนั่นแหล่ะ

ดังนั้นอาจเรียกได้ว่าระบบของไอดอลตระกูล 48 นั้นเป็นสิ่งที่ถูกคิดมาแบบ "ดีแล้ว ชอบแล้ว"

คนหัวร้อนเขาว่ายังไงกันบ้าง

ต่อมา เมื่อเข้าใจพื้นฐานของไอดอลตระกูล 48 แล้วก็ได้เวลาไปฟังเสียงจากเหล่าโอตะหัวร้อนกันบ้าง เราได้ลองเข้าไปอ่านกระทู้พันทิปหลายๆกระทู้และพบว่าส่วนใหญ่นั้นมีความรู้สึกว่าถูกน้องหักหลังและโกหก เพราะสิ่งที่น้องแสดงออกใน IG ส่วนตัวของน้องนั้นแตกต่างจากที่น้องแสดงออกใน Official Account เหมือนเป็นคนละคน อาจเรียกสภาวะนี้ได้ว่าเป็นการมาค้นพบว่าศิลปินตัวจริงไม่ได้เป็นอย่างที่เราหวังไว้เลยรู้สึกผิดหวังรุนแรง

ถ้าสำหรับศิลปินทั่วๆไปมันก็คงไม่รุนแรงมาก อาจเพราะส่วนหนึ่งคือเราก็ไม่ได้รู้จักตัวศิลปินดีเท่าไรนัก แต่สำหรับกรณีของไอดอลตระกูล 48 นั้นแตกต่างออกไป ต้นสังกัดเปิดช่องทางให้ผู้ชมได้ทำความรู้จักกับไอดอล (ในแบบที่เขาอยากให้เรารู้จัก) อย่างเต็มที่ ดังนั้นความผิดหวังมันจะรุนแรงกว่ามากๆ และบางคนก็ผิดหวังจนลืมตัวจนพลิกจาก Idolize เป็น Dehumanize ไปเลย คือมองน้องในฐานะอะไรสักอย่างที่นอกเหนือจากการเป็นมนุษย์คนหนึ่งไปแล้ว

ดังนั้นในกรณีนี้ ความหัวร้อนที่เกิดขึ้นนั้นเป็นความผิดของใคร? หมายถึงใครต้องมารับผิดชอบต่อความรู้สึกผิดหวังและหัวร้อนเหล่านี้? เราว่าไม่ใช่ตัวต้นสังกัด ตัวไอดอล หรือตัวระบบหรอก เพราะทั้งหมดนั้นถูกออกแบบมาแบบนั้นอยู่แล้ว และความหัวร้อนของโอตะก็เป็นสิ่งที่ถูกคาดคำนวณไว้ตั้งแต่ทีแรกและอาจเรียกได้ว่าเป็นตัวบ่งชี้ความสำเร็จของตัวระบบก็ว่าได้

เราว่ามันผิดที่ผู้ชมอย่างเรานี่แหล่ะ เรายอมก้าวเข้าไปใน Fantasy ที่ทำให้เราเข้าใจว่าเราได้ Bypass ไปรู้จักคุ้นเคยกับโอชิของเราแต่ดันลืมตัวไปว่าอยู่ใน Fantasy โลกแห่งความจริงกับโลกแห่งความฝันปะปนกันมั่วไปหมด สุดท้ายก็มาเป็นฝ่ายเดือดเนื้อร้อนใจเสียเอง

เล่ามาถึงตรงนี้ Quote ที่เราโปรดปรานที่สุดจาก Assassin's Creed นี่ลอยเข้ามาในหัวเลย
" Nothing is true, Everything is permitted "
มันแปลว่าไม่มีอะไรจริงหรอก ทุกอย่างที่เกิดขึ้นมันเป็นสิ่งที่ใครบางคนอนุญาตให้มันเกิด เหมือนเช่นใน "กรณีข้อพิพาทจากจักรวรรดิแคนแคน" นี้ กระแสสังคมและสิ่งต่างๆที่เกิดขึ้นคือส่วนหนึ่งของระบบที่ได้รับการออกแบบมาเป็นอย่างดี

จากนี้ไป?

ยิ่งพูดยิ่งคิดก็เหมือนภายเรือวนในอ่าง ในท้ายที่สุดแล้วการลอยตัวขึ้นมาจากความเดือดเนื้อร้อนใจเหล่านี้ก็คงหนีไม่พ้นการที่ตั้งสติและมองให้เห็นถึงธรรมชาติและ How the system works เหมือนกับการเลือกกินยาเม็ดสีแดงแล้วออกมาจาก Matrix นั่นแหล่ะ

เว้นระยะห่างระหว่าง ศิลปิน - ผลงาน - ผู้ชม ให้ได้อย่างที่มันควรจะเป็น นับสิ่งที่น้องๆแสดงออกผ่านสื่ออยู่ในหมวดผลงาน เท่านี้ก็สามารถติดตามความสดใสของน้องๆและลอยตัวอยู่เหนือดราม่าต่างๆไปได้แล้ว ไม่เดือดร้อนตัวเอง และไม่ต้องไป Dehumanize ใคร

สุดท้ายอยากฝากบทสัมภาษณ์ของคุณ 'ต่อ คันฉัตร' ใน Fungjaizine เอาไว้หน่อย เราว่ามันเป็นบทสัมภาษณ์ที่เป็นบทสรุปที่ดีทีเดียว ทั้งในเรื่องที่พูดถึงธรรมชาติของการติดตามศิลปิน, ประเด็นเรื่องการ Romanticize ของเหล่าโอตะที่มีต่อไอดอล และประโยคสั้นๆที่คล้ายเป็นข้อสรุปของประสบการณ์ทั้งหมดในการติดตามศิลปินของเขา
"ศิลปินมีไว้ชื่นชม ไม่ได้มีไว้รู้จัก"

ชุดภาพถ่ายของแคนในชุดเวียดนามที่มีวางขาย



Reference

  1. 60 ปี ‘อากิพี’ ผู้ก่อตั้ง คลับลูกแมว-48 Group-ซากะมิจิ และขับเคลื่อนวงการไอดอลญี่ปุ่น
  2. ครบรอบ 12 ปีไอดอลญี่ปุ่น akb48 จาก “แก๊งโชว์กางเกงใน” สู่ “ไอดอลระดับชาติ”
  3. กรณี ‘แคน BNK48’ การฟ้องร้องในความเสียหายจากสัญญาที่ละเมิดสิทธิมนุษยชน
  4. ต่อ คันฉัตร กับการ ‘ติ่ง’ ศิลปินไปทั่วโลก และมุมมองต่อกระแสไอดอลในไทย

Comments