Skip to main content

Featured

[Replay] [Play by Posts] 2400 Cosmic Highway : The Delivery EP 2

Link to Replay Part 1 Replay Part 2 ไม่นานหลังจากนั้น ทั้งสามคนก็ได้รับแจ้งว่าผู้ว่าจ้างกำลังมา เมื่อมองออกไปข้างนอกก็พบกับ Taxi ลำหนึ่งขับมาเทียบท่าจอดยาน ชายคนหนึ่งในชุดกัปตันเรือจากดาวโลกในศตวรรษที่ 19 ในมือหิ้วกระเป๋าหนังใบหนึ่ง ด้านหลังเขามีวัตถุทรงสี่เหลี่ยมสีดำขนาดประมาณโลงศพลอยตามมา น่าจะเป็นสินค้าที่ว่า แต่ดูๆไปมันคล้ายกับแท่งหินโมโนลิธมากกว่า ชายคนนั้นมาหยุดอยู่สะพานเทียบยานบีแบพแล้วกล่าวทักทายสมาชิกทั้งสาม “สวัสดี ผมกัปตันอาฮับ ผู้ว่าจ้างและผู้ร่วมเดินทางของคุณในวันนี้” หลังจากเห็นผู้ว่าจ้างมา Franchetti ก็ดับบุหรี่ก่อนเดินมาที่สะพานเทียบท่า “สวัสดีเช่นกันคุณอาฮับ ผม Franchetti ยินดีที่ได้ร่วมงาน” ก่อนที่จะมองไปที่ของด้านหลังที่ส่องแสงสีแดงอย่างสงสัย “ก่อนจะนำสิ่งนั้นขึ้นยานของผมตรวจสอบความปลอดภัยก่อน คุณคงไม่อยากให้เกิดเหตุการณ์ อพอลโล่ไททัน ซ้ำรอยใช่ไหมละ ขอผมสแกนเจ้าโมโนลิธนั่นว่าไม่มีเสปซไวรัสหรือร่องรอยกัมมันตรังสีก่อนค่อยเอามันขึ้นยานเถอะ” Guillermo ร้องขอ ส่วน Dutch ที่กำลังสังเกตสถานการณ์ผ่านกล้องจากใน Cockpit ก็รอดูว่านายจ้างจะยอมให้สแกนหรือไม่ กัปตันอาฮับคิ้วกระตุก...

20000 Leagues under the sea : Jules Verne

หนังสือ 20,000 โยชน์ใต้ทะเล โดย สำนักพิมพ์เวลา

Introduction 

เหมือนกับว่าช่วงนี้การแปลงานเขียนที่เป็น Public Domain ของ สำนักพิมพ์เวลา จะฮอตฮิตเป็นพิเศษทั้งงานของ H.P.Lovecraft และ 20000 Leagues under the sea งานเขียนของ ฌูล แวร์น (Jules Verne) - แปลโดยคุณ พรศักดิ์ อุรัจฉัทชัยรัตน์ เล่มนี้  ซึ่งเหตุผลที่เราซื้อมาอ่านเป็นเพราะว่าเรารู้จัก 'กัปตันนีโม' จากภาพยนตร์เรื่อง The Leagues of Extra Ordinary Gentlemen (2008) ที่เป็นภาพยนตร์รวมตัวละครจากนิยายดังในยุคนั้น อารมณ์คล้ายๆกับ Avengers หนังสนุกมากและกัปตันนีโมก็มีบทบาทที่โดดเด่นมากเช่นกัน เราจึงสนใจว่าเรื่องราวจริงๆของกัปตันนีโมก่อนจะมาอยุ่ใน เดอะ ลีค นั้นเป็นอย่างไร (นอกจากเหตุผลนี้ เหตุผลอื่นก็คือเรามีกลุ่มเพื่อนนักอ่านที่คอยป้ายยาอะไรพวกนี้อยู่)

My Thought

ข้อเสียอย่างที่สุดของหนังสือเล่มนี้คือการที่มันเป็น Public Domain เป็นงานเก่าซึ่งขายวิสัยทัศน์, จินตนาการ และไอเดีย ในยุคสมัยที่ไม่มีวิชวลเอฟเฟคต์หรือเทคโนโลยีทางด้านภาพยนตร์ใดๆ เนื้อหาของหนังสือเล่มนี้นับเป็นการเปิดโลกทัศน์และจุดประกายจินตนาการถึงโลกใต้ทะเลอันลี้ลับซึ่งมนุษย์ยังไม่เคยลงไปสำรวจ แต่เมื่องานเขียนนี้ได้ผ่านยุคสมัยมาจนถึงปัจจุบันซึ่งมีเทคโนโลยีภาพยนตร์ล้ำๆและมีเรื่องราวเกี่ยวกับโลกใต้สมุทรผลิตออกมามากมาย งานเขียนอันเป็นแม่แบบอย่าง 20000 Leagues under the sea จึงหมดรสชาติไปและถูกวางขึ้นหิ้งเป็นบทบันทึกถึงจินตนาการของมนุษย์ในยุคหนึ่งๆ

เราอยากเน้นย้ำประโยคที่ว่าหนังสือเล่มนี้เป็น "การเปิดโลกทัศน์และจุดประกายจินตนาการถึงโลกใต้ทะเลอันลี้ลับซึ่งมนุษย์ยังไม่เคยลงไปสำรวจ" และเมื่อเป็นดังนั้นเนื้อหาส่วนใหญ่จึงเป็นการ บรรยาย ถึงโลกใต้สมุทร เรือดำน้ำนอติลุส เดินทางไปที่ใด เจออะไร บางที่ก็แค่สำรวจหรือเยี่ยมชมโดยปราศจากปัญหา บางที่ก็มีปัญหาเชิงเทคนิคให้แก้บ้างเป็นบางครั้ง แต่โดยส่วนใหญ่คือการไปสำรวจภูมิประเทศใต้ทะเลอันน่าตื่นตาตื่นใจแล้วออกเดินทางต่อ มีตอนท้ายๆที่ปัญหาต่างๆดูร้ายแรงและน่าตื่นเต้นมากขึ้น เช่น ติดอยู่ในแผ่นน้ำแข็งขั้วโลก (ซึ่งเราคิดว่าเป็นตอนที่ตื่นเต้นที่สุดแล้ว), เปิดศึกกับฝูงปลาหมึกยักษ์, เจอน้ำวนยักษ์ แต่ก็เป็นช่วงสั้นๆก่อนตัดจบ

ปมหรือความขัดแย้งของตัวละครถูกกล่าวถึงบ้าง แต่ก็ไม่ได้เฉลยอะไรหรือนำไปสู่อะไร เหมือนเป็นเครื่องปรุงรสมากกว่าอาหารหลัก ซึ่งต่างจากการดำเนินเรื่องในนิยายยุคหลังๆที่ขับเคลื่อนโดยความขัดแย้งของตัวละครเป็นหลัก

ส่วนในเรื่องสำนวนแปล เรียกได้ว่าแปลได้มาตรฐาน ดีพอแต่ไม่ได้รู้สึกว่าเป็นงานแปลที่พิเศษ แต่เรื่องที่ต้องชมคือการตรวจสอบข้อมูลต่างๆที่ผู้เขียนบรรยายและนำส่วนที่ต้องปรับแก้หรือว่าต้องการการขยายความไปใส่ไว้ในเชิงอรรถท้ายบท ซึ่งมีแทบทุกบทและค่อนข้างเยอะ คงเป็นงานหนักของผู้แปลนอกเหนือไปจากการแปลชื่อปลาต่างๆซึ่งเยอะจนขนาดคนอ่านยังต้องอ่านข้ามและบอกตัวเองว่า "ย่อหน้านี้คือชื่อปลาล้วนๆ ไม่ส่งผลอะไรต่อการดำเนินเรื่อง" 

Summary

เราว่ามันก็อ่านเพลินดีถ้าตัดส่วนบรรยายปลาออกไป ที่จริงแอบให้ความรู้สึกเหมือนดู Star Trek TOS นิดหน่อย Vibe มันได้ มันมีความ Sci-fi ขายไอเดีย ขายเทคโนโลยี เอาความรู้ทางวิทยาศาสตร์มาต่อยอด (ใส่จินตนาการ) เหมือนเขาตั้งต้นด้วยข้อจำกัดทางวิทยาศาสตร์และจินตนาการว่าควรแก้มันอย่างไร แม้หลายๆเรื่องจะ Outdated หรือหมดยุคไปแล้วแต่ก็ยังทำให้รู้สึกทึ่ง ยิ่งไปดูฟุตเทจภาพยนตร์ที่สร้างจากนิยายเรื่องนี้ในปี 1954 แล้วยิ่งทึ่ง เมื่อคำบรรยายทั้งหมดถูกทำให้กลายเป็นภาพเราก็พบว่า เออ มันว้าวจริงว่ะ และไม่แปลกใจเลยว่าทำไมงานชิ้นนึ้จึงเป็นงานอมตะ


ตัวอย่างภาพยนตร์ 20,000 Leagues Under the Sea (1954)


โดยสรุป เป็นหนังสือที่เป็น Sci-fi ยุคแรกเริ่ม สมัยที่วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยียังไม่ลงตัวเท่าไรนัก อ่านแล้วทำให้เห็นถึงวิวัฒนาการทางจินตนาการของมนุษย์ได้เป็นอย่างดี อ่านเพลินๆได้ อาจไม่ตื่นเต้นและมีส่วนที่ทำให้หงุดหงิดรำคาญบ้างเมื่อวัดด้วยมาตรฐานงานเขียนในยุคปัจจุบัน แต่เมื่อระลึกได้ว่าสิ่งเหล่านี้คือพื้นฐานแห่งจินตนาการและหมุดหมายหนึ่งในวงการวรรณกรรมที่ทำให้เกิดการต่อยอดเป็นเรื่องราวมากมายในปัจจุบันก็ทำให้อ่านงานนี้ด้วยความรู้สึกเคารพมากขึ้น และอดไม่ได้ที่จะเขียนสดุดีถึงความดีงามของวรรณกรรมชิ้นนี้เอาไว้ใน Blog นี้

Comments