Model : Iron man (Classic armor : Model 4)
Toy line : Marvel Legends (6" Action figure)
Manufacturer : Hasbro
Year : 2013
|
Marvel Legends 2013 : Iron man Classic : In Civil War photography theme |
Iron man Classic : เรื่องเก่าที่เล่าซ้ำ
ที่มาที่ไปและประวัติของ Iron man ในหนังสือการ์ตูนไม่ได้ต่างอะไรจากในหนังมากนัก มหาเศรษฐีนักค้าอาวุธถูกผู้ก่อการร้ายจับตัวไปเพื่อให้สร้างอาวุธให้ แต่เขากลับสร้างชุดเกราะเพื่อพาตัวเองหนีออกมาและในภายหลังได้พัฒนาชุดเกราะนั้นเพื่อใช้ในภารกิจของซูเปอร์ฮีโร่
Iron man Classic หรือ Model 4 ตัวนี้เป็นชุดเกราะที่ใช้งานยาวนานที่สุดก่อนจะเปลี่ยนไปใช้ Model ใหม่ (ในยุคใหม่ๆแทบจะเปลี่ยนชุดเกราะปีต่อปี) ทำให้เป็นชุดเกราะที่มีผู้คนจดจำได้มาก
|
Model 2 Head sculpt |
|
Model 4 Head sculpt |
Reviews : Iron man Classic
หลังจากที่เคยทำการรีวิว Iron Man Mk 46 ที่เป็นชุดเกราะในจักรวาลหนังมาแล้วก็เกิดความคิดที่ว่าจะลองเอาฟิกเกอร์ Iron man ที่มีอยู่มารีวิวทีละตัวบ้าง เพราะไม่ต้องเล่าประวัติซ้ำมากมายอะไรนัก สามารถไปเน้นที่เรื่องของชุดเกราะเป็นหลักได้เลย ผู้เขียนจึงหยิบยก Iron Man Classic ตัวนี้ที่ออกวางขายช่วงที่ภาพยนตร์ Iron Man 3 ออกฉายเมื่อปี 2013 มารีวิว
ในแพ็คประกอบด้วยตัวฟิกเกอร์, หัวสำหรับเปลี่ยน (หัวที่ใส่อยู่กับตัวฟิกเกอร์เป็นแบบหัวแหลมๆของ Model 2 ส่วนหัวเปลี่ยนที่ดูกลมๆเป็นของ Model 4) และ ชิ้นส่วนขาข้างขวาของ Iron Monger เวอร์ชันหนังสือการ์ตูน
|
Out of packaging |
Sculpting and painting : รายละเอียดและการลงสี
ลักษณะเด่นของฟิกเกอร์ที่ได้แบบมาจากยุคเก่าๆคือรายละเอียดไม่เยอะ ทำให้ตัวฟิกเกอร์เก็บรายละเอียดได้ครบตามหนังสือการ์ตูน แต่ที่ไม่ค่อยชอบก็คงจะเป็นโครงร่างที่ค่อนข้างเล็กและดูผอมเกินไปกับกล้ามที่ดูไม่สมส่วนกับโครงร่าง ส่วนการลงสีถือว่าทำได้ดี เป็นสี Metallic ทั้งตัว แต่การลงสี Arc Reactor ไม่ค่อยสวยเท่าไรนัก
รายละเอียดส่วนหัวมีไม่มาก การลงสีเบี้ยวไปบ้างเล็กน้อย ไม่ตั้งใจจ้องก็ไม่รู้สึกว่ามันเบี้ยว
|
Front details |
|
Rear details |
|
Repulsor details |
Joints and Articulation : ข้อต่อและการขยับ
เป็นข้อต่อในยุคเก่าซึ่งไม่น่ามีแล้วในปัจจุบัน โดยรวมถือว่าขยับได้ไม่มากนัก แต่ก็ไม่ถึงกับจัดท่าทางอะไรไม่ได้เลย แต่เนื่องจากเป็นข้อต่อแบบเก่าก็จะเล่นยากนิดหน่อย
จุดที่ขัดขวางการขยับมีค่อนข้างเยอะ อย่างแขนเองก็หุบลงมาได้ไม่สุดเพราะว่าติดเกราะส่วนลำตัว ขาก็ขยับออกไปด้านข้างได้น้อยมากเพราะติดเกราะส่วนสะโพก
- หัว : หมุนได้รอบ เงยหน้าก้มหน้าได้สุด ไม่มีอะไรติดขัด
- ลำตัว : แอ่นตัวและก้มตัวได้พอสมควร เอวหมุนได้รอบ
- แขน : กางได้เท่าที่เห็นในรูป หุบลงมาได้ไม่มากเพราะติดเกราะ ต้นแขนหมุนได้รอบ ศอกเป็น Double joints ข้อมือหมุนได้และหักงอได้
- ข้อต่อต้นขา - สะโพก : เป็นข้อต่อแบบเก่า อ้าได้และเตะมาข้างหน้าได้ไม่มากนัก วิธีเล่นก็จะยากนิดหน่อย คือเวลาจะขยับจะต้องบิดข้อต่อระหว่างขากับเอวมาอยู่ในทิศทางที่ต้องการขยับก่อนแล้วจึงเริ่มขยับ คือถ้าข้อต่ออยู่ในตำแหน่งสำหรับเตะขาหน้า-หลัง ขาจะขยับออกข้างไม่ได้เลย
- ขา : ต้นขาหมุนได้ เข่าเป็น Double joints ข้อเท้าหมุนได้ พับงอได้ แต่ไม่สามารถเอียงซ้ายขวาได้
|
Angle of movement |
|
Articulation |
|
Articulation |
คุยสรุปกันตอนท้าย
โดยคุณสมบัติแล้วเป็นฟิกเกอร์ที่ดี แค่ว่ามันตกยุคไปแล้ว คือถ้าลองเล่นลองขยับลองถ่ายรูปจะเห็นว่ามันตอบโจทย์ทุกข้อเลยนะ ทั้งเรื่องการจัดท่าทางและรายละเอียด แต่ในยุคปัจจุบันนั้นเทคโนโลยีการผลิตทำให้เรามีฟิกเกอร์ที่ตอบโจทย์เหมือนกันแต่ทำออกมาได้ดีกว่า ทำให้ฟิกเกอร์ตัวนี้มีอันต้องล้าสมัยไปเช่นเดียวกับชุดเกราะต้นแบบในเรื่องที่ไม่สามารถต่อกรกับชุดเกราะรุ่นใหม่ๆได้อีกต่อไป
นับว่าเป็นฟิกเกอร์ที่น่าสะสมดีหากมองในความหมายที่ว่ามันเป็นฟิกเกอร์ที่เปรียบเสมือนหลักไมล์หนึ่งของการพัฒนาเทคโนโลยีการผลิตและเทคโนโลยีของชุดเกราะ Iron man แต่ในท้ายที่สุดแล้วมันอาจไม่น่าเก็บขึ้นมาก็ได้หากในภายภาคหน้า Iron man Classic นั้นจะถูกผลิตใหม่ด้วยรายละเอียดและจุดขยับที่ดีกว่าเดิม
|
With classic Captain America |
|
Classic photography position |
|
Repulsor Blast! |
Comments
Post a Comment